พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี หรือ รู้จักกันในนาม "ภูมินทรภักดี" ผู้กำกับกรมช่างสิบหมู่สมัยรัชกาลที่ 4 และในสมัยรัชกาลที่ 5 ตอนต้น
ซึ่งนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการกำกับการออกแบบรูปหล่อของพระพุทธรูปที่สร้างด้วยโลหะธาตุทั้งหมด
มีบทบาทที่สำคัญมากในการสร้างพระเครื่องในยุคของรัชกาลที่ 4 และยุคของรัชกาลที่ 5 (ตอนต้น) ซึ่งกล่าวได้ว่าพระองค์ท่านมีบทบาทในการสร้างพระของวังหลวง วังหน้า และพระของสมเด็จฯโต
เป็นผู้กำกับกรมช่างสิบหมู่ แท้จริงช่างไทยมีอยู่มากกว่า 10 หมู่ แต่ที่เรียกว่า "ช่างสิบหมู่" ก็เพื่อต้องการจะรวบรวมช่างที่เป็นส่วนสำคัญไว้ก่อนเพียง 10 หมู่ ต่อมาภายหลังจึงได้เพิ่มเติม หรือแยกแขนงออกไปอีกตามลักษณะของงาน ตามบัญชีชื่อช่างที่ขึ้นทำเนียบเป็นช่างหลวงมีดังต่อไปนี้ ช่างเลื่อย ช่างก่อ ช่างดอกไม้เพลิง ช่างไม้สำเภา ช่างปืน ช่างสนะ(จีน) ช่างสนะ (ไทย) ช่างขุนพราหมณ์เทศ ช่างรัก ช่างมุก ช่างปากไม้ ช่างเรือ ช่างทำรุ ช่างเขียน ช่างแกะ ช่างสลัก ช่างกลึง ช่างหล่อ ช่างปั้น ช่างหุ่น ช่างบุ ช่างปูน ช่างหุงกระจก ช่างประดับกระจก ช่างหยก ช่างชาดสีสุก ช่างดีบุก ช่างต่อกำปั่น ช่างทอง