วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

2 พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พ.ศ.2411

การศึกษาพระสมเด็จ มีผู้รู้กล่าวไว้ดังนี้   
อ้างอิงจากเว็ป...http://www.jeenlear.com/category.php?cgid=4&cid=89

   1.  ก่อนอื่นต้องศึกษาเรียนรู้โบราณคดีของพระก่อน  ศึกษาประวัติ์การทำพระของสมเด็จโตให้เข้าใจก่อน
  2.  หัดดูความเก่าของพระให้ออกก่อน  พระสมเด็จอายุไม่ต่ำกว่า 130 ปี  ของเก่าอายุเป็นร้อยปี  ผิวพรรณจะต้องคร่ำตามธรรมชาติ  มีรอยยุบย่นหดตัว  ดูผิวพระดูคราบตังอิ๊ว  คราบรัก รงค์ ชาด เทือก  และคราบกรุที่ผิวพระต้องเก่า ผิวพรรณพระจะเหมือนผิวคนแก่  80-90 ปี
  3.  หัดดูมวลสารที่สำคัญที่พระสมเด็จ ต้องมี ผงกฤติยาคมหรือผงสมเด็จ  จะเป็นเม็ดเล็กๆขาวขุ่น  แข็งแกร่ง  สัณฐานกลม  ( ดูในเรื่องการทำผงกฤติยาคมหรือผงสมเด็จ)  ถ้าพระองค์ใดมีก็ให้ถือว่าใช่ไว้ก่อน  เม็ดผงสมเด็จที่แท้จะเป็นเม็ดเล็กๆ กลมๆ สีขาวขุ่น ดูแข็งแกร่ง  และจะดูเก่ากว่าผงพื้นองค์พระนั้น  ผงสมเด็จจะดูเก่าพอๆกับเนื้อพระสมเด็จหักที่เขานำมาตำบดไส่เป็นมวลสารที่ ชิ้นโตสีขาวขุ่นแบบสีฟันของคน  ถ้าผงกับเศษพระดูเก่าพอๆกันก็ให้คิดว่าใช่ไว้ก่อน  ผงเก๊หรือผงปลอมจะขาวซีดๆ จืด สันฐานไม่กลม  และดูจะไม่เก่ากว่าเนื้อพระจะถือว่าของปลอม
  4.  ดูมวลสารที่เอามาผสมในพระสมเด็จ คือ  พระสมเด็จที่หักชำรุดท่านเอามาบดเป็นผงใส่ไว้  เนื้อเป็นสีขาวขุ่นแกร่งออกมันเวลาส่องกล้อง  ดูชิ้นเนื้อพระซุ้มกอที่ท่านใส่ไว้เป็นเนื้อดินสีน้ำตาลเก่ากว่าเนื้อชิ้น พระสมเด็จ  หากดูเก่ากว่าพระสมเด็จจึงจะใช่  ถ้าก้อนอิฐในพระดูไม่เก่าไม่ใช่เนื้อพระซุ้มกอ  สีจืดกว่าแสดงว่าไม่ใช่  ดูมวลสารที่เป็นพระธาตุจะเป็นก้อนกลมๆมีขุยที่ผิว  ก้อนดูใสมีสีขาวอมเหลือง สีนำตาล สีเทา เหมือนเม็ดพลาสติก  ผิดจากนี้ไม่ใช่พระธาตุพิจารณาดูมวลสารอื่นๆ ที่สำคัญ พวกแร่สะเก็ดดาวตกเม็ดสีเหมือนครั่งหรือยางสน  ดูเม็ดอัญมณีหินพลอยสีต่างเป็นเม็ดสีคล้ายแร่สะเก็ดดาวตก  และดูมวลสารอื่นๆที่อาจมีเช่น  หมุดเงิน -ทอง  ทรายเงิน - ทอง  หยกตุ๊กตากวนอูและอื่นๆ  ตามลักษณะมวลสารที่กล่าวไว้ข้างต้น  ถ้ามีให้คิดว่าใช่ไว้ก่อนจะได้ไม่เสียโอกาศ
   5.  พิจารณาเนื้อพระว่าเป็นเนื้อพื้นอะไรในพระ 12 เนื้อพื้น  และเป็นพระยุคไหน  ตอนไหน  ฝีมือใครแกะพิมพ์  ให้พิจารณาองค์ที่เป็นหินเปลือกหอยดิบหรือเปลือกหอยสุกไว้ก่อน  เนื้ออื่นๆเอาไว้ทีหลัง  ควรหาโอกาศดูเนื้อพระแท้จากคนที่เขามีเอาไว้เป็นองค์ครู  เพราะเนื้อสมเด็จหินเปลือกหอยไม่ว่ารุ่นไหน  ยุคไหน  วัดไหน  พิมพ์อาจจะต่างกันแต่เนื้อพระจะเหมือนๆกันเกือบทุกองค์  ถ้ามีของแท้ดูเป็นครูก็จะดูเนื้อพระแท้ได้ไม่ยาก  พระเนื้อหินเปลือกหอยให้ดูเนื้อหินลับมีดโบราณไว้เป็นแบบอย่างได้  เนื้อสมเด็จจะคล้ายๆแบบนั้นต่างกันตรงที่เนื้อพระสมเด็จจะดูมีมันในตัว  ดูแข็งแกร่งแล้วดูนุ่มนวลตาที่เรียกว่าหนึกนุ่มนั่นเอง  ถ้าลองเอาพระมาวางบนแผ่นกระเบื้องหรือแผ่นกระจกจะมีเสียงดังกริ้งแบบเสียง หินกังสะดาร  ก็ให้คิดว่าใช่ไว้ก่อน  เนื้อพระจะมีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด  เนื้อละเอียดจะแกร่งกว่าถ้าพิจารณาได้อย่างนี้ก็มีโอกาศได้พระสมเด็จแท้ 
   6.  พิจารณาดูพิมพ์ทรง  พระสมเด็จมีทั้งหมด 249 พิมพ์ทรง  เราคงจะรู้ไม่หมดแน่ๆ  และคงไม่มีใครจะรู้ได้มากอย่างนี้  ให้เราพิจารณาเฉพาะพิมพ์ทรงที่นิยมและเป็นสากลจะดี แต่อย่าทิ้งพิมพ์นอกนิยม  ซึ่งปัจจุบันพิมพ์นิยมมี 17 พิมพ์ เนื้อนิยมแค่ 2 เนื้อ  เป็นวัดระฆัง 5 พิมพ์  วัดบางขุนพรหม 9 พิมพ์ และวัดเกศไชโย 3 พิมพ์ ดังที่กล่าวมาแล้วหัดจำพิมพ์ทรงนิยมให้ได้จะได้เงินมหาศาล
   เนื้อได้ - พิมพ์ได้ - อายุได้ก็น่าจะเพียงพอแล้วในนักเล่นพระหัดใหม่
   ดูความเก่า - ดูเนื้อ - ดูมวลสาร - ดูความเก่า มันกลับกัน  พระถ้าถูกพิมพ์เนื้อดีมวลสารดีและเก่าจะตามมา
   ความเก่าของผิวพระต้องดูให้ดี พระที่ใช้สมบุกสมบัน  เนื้อพระจะช้ำดูเก่ามากเหมือนคนชนบทดูแก่  ส่วนพระเก็บอย่างดีไม่ได้เอาออกมาใช้เนื้อจะเอี่ยมดูไม่เก่า  เหมือนคนในเมืองผู้ดีดูไม่แก่
   พระสมเด็จถ้าเก็บไม่ถูกมือ  ไม่ถูกแดด  ไม่ถูกลม  ผิวพระจะออกมาขาวอมเหลือง เนื้อจะหนึกแกร่งดูไม่หนึกนุ่มเหมือนของใหม่ของปลอม  แต่ให้รู้ไว้เถอะนั่นแหละของสวย
   พระสมเด็จที่เอามาใช้ถูกมือจับห้อย ถูกเหงื่อ  หรือบางคนเอามาทาที่แก้มจะทำให้พระดูเก่าหนึกนุ่มกว่าพระเก็บไม่ได้ใช้  สีจะคล้ำออกสีน้ำตาลแก่เซียนบางคนว่าเนื้อจัด
   สูตรผสมเนื้อพระสมเด็จของสมเด็จโต และอาคมอันแก่กล้า  เขาว่าจะทำให้พระแกร่งหนึกไม่เหมือนพระอื่นๆ

พระสมเด็จรูปเหมือนสมเด็จโต ฝัง
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พ.ศ.2411 
พระกริ่งปวเรศ ฝังหลังพระสมเด็จโต หน้าเหมือนพิมพ์ข้างเม็ด เนื้อผงพิมพ์พิเศษ


2411-101
พระสมเด็จถ้าเก็บไม่ถูกมือ  ไม่ถูกแดด  ไม่ถูกลม  ผิวพระจะออกมาขาวอมเหลือง เนื้อจะหนึกแกร่งดูไม่หนึกนุ่มเหมือนของใหม่ของปลอม  แต่ให้รู้ไว้เถอะนั่นแหละของสวย
ด้านหลัง บนพระกริ่งปวเรศ จารึก "โต"


2411-102


2411-103  พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข  พ.ศ.2411 เนื้อนาค