วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

16. พระสมเด็จ พิมพ์พิเศษ ด้านหลังฝังพระทนต์ พระพุทธเจ้า


สุดยอดของพระสมเด็จพิมพ์พิเศษ ด้านหลังฝังพระทนต์ (ฟัน) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน (พระโคตมพุทธเจ้ามีพลังพุทธานุภาพไร้ขีดจำกัด (จากการสอบถามพระเบื้องบน)  

ประสบการณ์
ของผู้ครอบครองคนปัจจุบัน  ได้นำพระสมเด็จพิมพ์พิเศษ ด้านหลังฝังพระทนต์ องค์นี้อาราธนาติดตัวในอดีตที่ผ่านมา  ไม่มีพลังจิต ภูมิธรรมที่สูงเพียงพอในการอาราธนา ทำให้ผิวหนังบนข้อมือไหม้เป็นรูปพระทนต์ 

พระธาตุเขี้ยวแก้ว หรือ พระทาฐธาตุ คือ พระธาตุส่วนที่เป็นเขี้ยวของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งข้อมูลในคัมภีร์พระไตรปิฏกในลักขณสูตร ได้กล่าวถึง มหาบุรุษลักษณะ 32 ประการ มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึง ลักษณะของพระทาฐะหรือเขี้ยวของบุคคลผู้มีลักษณะแห่งมหาบุรุษว่า "เขี้ยวพระทนต์ทั้งสี่งามบริสุทธิ์" ข้อมูลนี้จึงทำให้ทราบและเป็นที่ยืนยันว่า พระธาตุเขี้ยวแก้วมีทั้งหมด 4 องค์

ซึ่งเป็นที่เชื่อกันว่าบนโลกมนุษย์ของเรานี้ มีพระเขี้ยวแก้วขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่ 2 องค์ นอกจากนี้ พระธาตุเขี้ยวแก้วยังจัดเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่ไม่แยกกระจัดกระจาย องค์มีลักษณะแข็งแกร่งรวมกันแน่น พุทธศาสนิกชนจึงมีความศรัทธาเลื่อมใสในองค์พระธาตุเขี้ยวแก้วเป็นอย่างมาก

ในรูปเป็นพระทนต์ของพระพุทธเจ้า  ไม่ใช่เขี้ยวพระทนต์   ผู้ที่หวังจะครอบครองย่อมหาไม่ได้  เพียงแค่เห็นภาพนับว่าเป็นบุญตา  ยิ่งได้สัมผัสสุดจะกล่าวคำพูดใดๆ

ผู้เขียนกล่าวได้เพียงสั้นๆว่าของจิรงแท้แน่นอน  นำรูปไปล้างอัดบนกระดาษเพื่อบูชานับได้ว่าเป็นศิริมงคลกับชีวิต

ความ เก่าของผิวพระต้องดูให้ดี พระที่ใช้สมบุกสมบัน  เนื้อพระจะช้ำดูเก่ามากเหมือนคนชนบทดูแก่  ส่วนพระเก็บอย่างดีไม่ได้เอาออกมาใช้เนื้อจะเอี่ยมดูไม่เก่า  เหมือนคนในเมืองผู้ดีดูไม่แก่
   พระสมเด็จถ้าเก็บไม่ถูกมือ  ไม่ถูกแดด  ไม่ถูกลม  ผิวพระจะออกมาขาวอมเหลือง เนื้อจะหนึกแกร่งดูไม่หนึกนุ่มเหมือนของใหม่ของปลอม  แต่ให้รู้ไว้เถอะนั่นแหละของสวย
   พระสมเด็จที่เอามาใช้ถูกมือจับห้อย ถูกเหงื่อ  หรือบางคนเอามาทาที่แก้มจะทำให้พระดูเก่าหนึกนุ่มกว่าพระเก็บไม่ได้ใช้  สีจะคล้ำออกสีน้ำตาลแก่เซียนบางคนว่าเนื้อจัด

161001
พระสมเด็จพิมพ์พิเศษฝังพระทนต์ พระพุทธเจ้า


 


คำจารึกด้านหลังองค์
พระสมเด็จพิมพ์พิเศษฝังพระทนต์
- ด้านบน " พระทนต์ "
- ด้านขวา " พระพุทธเจ้า "
- ด้านล่าง " 1 โต 1 " หมายถึง สร้างโดยสมเด็จโต พ.ศ.2411
- ด้านซ้าย.
.....

ข้อมูลเพิ่มวันที่ 17 พฤศจิกายน 2555
 สมัย ร.3 โปรดให้คณะพระสงฆ์เป็นสมณฑูตไปลังกา เพื่อบูชาพระทันตธานุและเจดีย์ฐานในลังกาทวี  มีพระแก้วเดินทางไปด้วย 1 รูป ดังเอกสารข้อความแนบ จากลิงก์ http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/002773.htm  เมื่อไปถึงได้กราบนมัสการ  และผู้เขียนได้เข้าใจว่า ในขณะนั้นเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เจ้าผู้ครองนครได้มอบพระทันตธาตุและพระธาตุฯลฯ มากับคณะสงฆ์ที่ไปในครั้งนั้น 

เพราะ จากหลักฐานพระเครื่องของเจ้าประคุณสมเด็จโต พรหมรังสี วัดระฆัง  ได้มีการสร้างพระเครื่องพิมพ์พิเศษและจารึกว่าเป็นพระทนต์บ้าง พระธาตุบ้าง พระบรมสารีริกธาตุบ้าง ล้่วนแล้วแต่อ้างอิงว่ามาจากลังกา ประกอบกับหลักฐานทางเอกสารเชือมโยงมาตรงกันจึงเชื่อถือได้ว่ามาจากสถานที่ แหล่งเดียวกัน